ธรรมยุต...ธรรมทายาท :เมื่อปะกาเกอญอนับถือพุทธศาสนา
โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ
เรื่องราวต่อไปนี้เกิดขึ้นจริงที่บ้านแม่กลางหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปะกาเกอญอ
ชนเผ่าเก่าแก่ที่เคยนับถือพุทธผี ได้เปลี่ยนแปลงศรัทธาและความเชื่อมานับถือพุทธศาสนา ตามรอยศิษย์พระตะถาคต บนดอยสูงเสียดฟ้าสูงกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ด้วยธรรมยุตทายาทผู้กล้าแกร่งและอาจหาญไปเดินย่ำดอยบิณฑบาตรอย่างมิคาดหวัง พลางรำพึงในใจ
"จะมีชนเผ่าเขาตักบาตรไหมหนอ"
บิณฑบาตรเช้า ย่ำดอยคอยทำบุญ
พระบดินทร์ สีลสังข์วโร ผู้มีชาติภูมิจากบ้านนาเหลืองนอก อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน การศึกษาทางโลกจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เคยเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ไม่จบการศึกษาปริญญาใด ๆ บรรพชาเมื่อปีพ.ศ.2542 ที่วัดป่าบ้านนามน อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ศึกษาธรรมะจนสอบได้นักธรรมเอก
แล้วออกจาริกแสวงบุญไปทั่วทั้งภาคอีสานและภาคเหนือ
ในที่สุด มาเซ่ เณรลูกศิษย์องค์หนึ่งซึ่งเป็นชนเผ่าปะกาเกอญอ บ้านแม่กลางหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ นิมนต์มาจำพรรษาที่บ้านเกิดของเขา
เณรน้อยอุ้มบาตรใหญ่ แม่บ้านปะกาเกอญอใจบุญ
ปีพ.ศ.2549 ตามนิมนต์มาเซ่ มาจำพรรษาครั้งแรกนที่ผาหน้าผีเหนือหมู่บ้านอยู่ใกล้ๆสวนของผู้ช่วยอุ่น(พงษ์ศักดิ์ วนาลัยนิเทศน์) ห่างไกลชุมชนหน่อย ลงไปบิณฑบาตรครั้งแรกก็อย่างที่เล่าให้ฟังว่า เดินบิณฑบาตรไปก็รำพึงในใจว่า จะมีชนเผ่าเขาตักบาตรไหมหนอ แต่ในที่สุดก็อยู่ได้ด้วยศรัทธา
ที่ย้ายมาที่นี่น่ะหรือ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ นิมนต์มา ท่านเลือกพื้นที่ตรงนี้ให้ สูงจากระดับน้ำทะเล มากกว่า 1,000 เมตร รายล้อมไปด้วยป่าไม้หนาแน่น โดยเข้าในโครงการพุทธอุทยาน
บุญเราสอง ศรัทธา...แรงกล้า
วันนี้มีพระสงฆ์อยู่ 2 รูป เณรบวชใหม่ 15 องค์ กำลังจะสึกแล้วเหลือเพียง 2 องค์ แต่ก็มีพระธุดงค์วนเวียนมาจำวัดที่นี่บ่อยๆ เคยมีพระธุดงค์หลายรูปเพียรพยายามจะชวนเชิญชาวปะกาเกอญอให้นับถือศาสนาพุทธแต่ก็ไม่สำเร็จจนอาตมามาอยู่ถึงได้สำเร็จ อ้อ ที่นี่เป็นเพียงที่พักสงฆ์ ไม่ใช่วัด ศาลาหลังใหญ่นี่ก็เพื่อรองรับญาติโยมที่เข้ามาทำบูญ ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม น่าจะรองรับได้ 300-400 คน เป็นห้องพักสงฆ์ 2 ห้อง
บนดอยเหนือศาลามีกุฎีสงฆ์อยู่ 2 หลัง เป็นกระท่อมมุงด้วยใบตองตึง ขนาด 4x4 เมตร ห้องสุขา 1 หลัง ส่วนหลังกลางนี่เป็นเรือนร้อน มีห้องอบสมุนไพรให้กับสงฆ์ และยามบ่ายคล้อยใช้เป็นที่ดื่มน้ำปานะ
พระประธาน
ออกบิณฑบาตรโปรดสัตว์ทุกวัน ยกเว้นวันพระ 15 ค่ำ จะทำบุญร่วมกันที่ศาลาการเปรียญหลังนี้ ชนเผ่าปะกาเกอญอบ้านแม่กลางหลวง 67 หลังคาเรือน วันนี้เป็นผู้ศรัทธาพุทธศาสนา 61 หลังคาเรือน อีก 6 หลังคาเรือนนับถือศาสนาคริสต์ ชาวบ้านให้ความร่วมมือกับวัดมาก เช่นร่วมกันบวชต้นไม้รอบๆพื้นที่ที่พักสงฆ์ 300 ไร่ ปลูกต้นไม้แซมในที่ว่างเปล่า พร้อมปักป้ายชื่อผู้ปลูกไว้เป็นอนุสรณ์ เขาจะได้หวงแหนและภูมิใจ
นอกจากนั้นก็เทศนาธรรม ตั้งชมรมคนรักสายธารา อนุรักษ์แม่น้ำลำคลองและสิ่งแวดล้อม เช่นทำแนวกันไฟป่า อนุรักษ์ประเพณี ศิลปะ วัฒนะธรรมและวิถีชีวิตชนเผ่าให้ดำรงอยู่สืบไป มาเซ่เป็นประธานชมรม
ศาลาการเปรียญ
ในหมู่บ้านแม่กลางหลวงแห่งนี้ ส่วนใหญ่ชาวปะกาเกอญอทำนาขั้นบันได ปลูกข้าวไว้กินปีละครั้งเดียว เว้นว่างจากไร่นาก็ทำสวนไม้ดอกไม้ประดับตัดดอกขายเป็นรายได้เสริมบนนาขั้นบันไดที่ว่างเปล่า น้ำได้จากระบบคลองส่งน้ำจากระบบเหมืองฝายตามภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ที่บ้านแม่กลางหลวงแห่งนี้โชคดีมากที่มีน้ำตกผาดอกเสี้ยวสูง 11 ชั้น ปริมาณน้ำที่ไหลหลั่งถะถั่งดังกับเทวดาราดน้ำลงมาให้
น้ำจึงมีอุดมสมบูรณ์ตลอดปี แม้แต่ในฤดูแล้งๆ
เรือนร้อน กุฎิบนดอยสูง
สิ่งที่น่าห่วงใยคือ วันข้างหน้าวัดก็จะเจริญเติบโตเช่นที่วัดทั่วไปเกิดขึ้น มีศาลาการเปรียญ กุฎี หอฉัน โบสก์ และสิ่งปลูกสร้างมากมาย ตามที่ญาติโยมมุ่งมาอุทิศให้ เรื่องนี้พระบดินทร์ให้คำมั่นว่า จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ป่าจะยังเป็นป่า และจะใช้เพียงหลักธรรมคำสอนมากกว่าใช้วัตถุ
"อาตมาขอรับรองว่าจะไม่เกิดอย่างที่โยมหวั่นเกรงแน่นอน"
สอนห่ม
ผมกราบลาด้วยความมั่นใจและเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระป่า สายหลวงปู่มั่น ธรรมยุตนิกายผู้ถือมั่นในแนวทางที่แตกต่าง แต่เป้าหมายเดียวกัน สืบทอดพระศาสนาและสร้างพลังศรัทธาให้เกิดแก่ชนเผ่าปะกา
เกอญอ ให้นับถือพุทธศาสนาด้วยความสมหวัง
พระชายกลาง อภิญาโน จำพรรษาวัดพระรามเก้า กรุงเทพมหานคร ธรรมยุตนิกาย ผู้นำทางธรรมยาตราครั้งนี้
ข้าวก้นบาตร
ท่านมีชาติภูมิจากจังหวัดสุราษฏร์ธานี บ้านเกิดของท่านอยู่ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาศก(เขื่อนรัชประภา) วันนี้น้ำได้ท่วมไปจนหมดแล้ว ท่านศึกษาปริญญาตรีหลายสาขาแต่ไม่จบเลยสักปริญญา ทำงานหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหลายฉบับและหลายจังหวัดมากกว่า 20 ปี แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จใดๆ ปีพ.ศ.2551 ตั้งจิตอธิษฐานบวชไม่สึก ร่วมกันเล่าว่า ธรรมยุตนิกายต่างจากมหานิกายเช่นไร
ขัดบาตร
ข้อวัตรปฏิบัติอันประกอบด้วยศีล วินัย 227 ข้อ ล้วนตำราเดียวกับมหานิกายทุกอย่าง แต่เมื่อครั้งรัชกาลที่ 4 ทรงผนวชจึงได้ตั้งนิกายธรรมยุตขึ้นอีกสายหนึ่ง โดยมีข้อปฏิบัติที่แตกต่าง ประกอบด้วยการิก 4 นั่นคือ ยามการิก ฉันอาหารได้ตั้งแต่เช้าจนถึงก่อนเที่ยง ยาวะชีวิต ฉันได้ตลอดเวลา สัตะการิก ฉันอาหารใดๆได้ด้วยอาหารนั้นๆมีอายุอยู่ได้ 7 วัน เช่น น้ำอ้อย น้ำผึ้ง น้ำตาล เนยข้น เนยใส เป็นต้น
สุดท้าย การิกระคนกัน ก็อยู่ในเงื่อนอายุ 7 วันเท่านั้น อันได้แก่ นมสด น้ำส้มไม่มีกาก กาแฟใส่น้ำตาลได้ แต่กาแฟใส่คอปปี่เมทไม่ได้ เป็นต้น
ฉันแล้วล้าง
ถือเคร่งเกินไป ถือเคร่งปานกลางปล่อยวางบ้าง ถือเคร่งต่ำสุด อาจเกิดข้อครหา สาธุๆ
อาหารเหลือจากบิณฑบาตรทุกเช้า เครื่องเขียนที่พระชายกลางอภิญาโนบอกบุญนำมาจากกรุงเทพ เพื่อให้เป็นทานแก่เยาวชนยากไร้กลางป่า จึงได้เห็นแววตาศรัทธาซึ้ง
แจกเครื่องเขียนและขนม น่ารักไหม