หลวงพระบางตอน4. ของกินของฝาก หายากแต่น่ากิน
โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง-ภาพ
บนเส้นทางแสนสนุก ไกด์ไก่คำเล่าว่า บนเส้นทางข้างหน้าจะมีตลาดริมทางขายของป่า อันเป็นของกินและของฝากที่ชาวลาวนิยมจอดรถลงไปซื้อหากันมาก เพราะว่าเป็นสินค้าพื้นเมืองขนานแท้ ไม่มีการปลอมปน ไม่มีสารเคมีหรือสารกันบูดตกค้าง จุดแรกนี้อยู่ในช่วงถนนแคบๆ มีวิวทิวทัศน์เป็นภูเขาหินปูนสูงตระหง่าน ช่วงเวลาที่ผ่านยังอยู่ในช่วงก่อนเที่ยง ส่วนอีกแหล่งหนึ่ง ไก่คำเล่าว่า จะถึงในช่วงค่ำนิดๆ ที่นั่นเป็นของฝากจำพวกปลาเป็นหลัก ทำไม
ไขและน้ำมันเลียงผา น่าจะเนื้อเลียงผา
จุดแรกที่ได้ลงไปพักเหนื่อย ด้วยการชมสินค้าพื้นเมืองแท้ๆ อากาศเย็นสบายดีมาก อาจจะเพราะว่าอยู่บนเทือกเขาสูงและเป็นหุบเขาที่รายล้อมยังมีป่าไม้ใบบังมากอยู่ ร้านค้าเป็นเพิงหมาแหงนง่ายๆ แม่ลูกอ่อนสะพายลูกด้วยผ้าขาวม้าผืนเดียว เขากำลังหลับสนิท ส่วนด้านหลังมีเด็กน้อยน่ารัก 2 คนกำลังนั่งเล่นอยู่รอบเส้ากองไฟ
ไขเลียงผา หวายกินได้
พอผมลงได้ ก็มีอีกหลายรายเดินตามลงไปด้วย ดูสนใจที่อยากซื้อสินค้าแปลกๆ เช่น ไขแท่งสีขาวในห่อพลาสติก อันเป็นไขของกวางผา หรือเลียงผา ขวดเล็กๆบรรจุด้วยน้ำมันเลียงผา หวายกินได้ หนังแห้งมัดเป็นกำๆ เนื้อแดดเดียวสีแดงแป๊ดไม่แน่ใจว่าแดงด้วยสีทาหรือแดงด้วยใช้เลือดทา ถ้าปิ้งย่างคงหอมกรุ่นชวนน้ำลายสอ แต่ก็ไม่ได้ซื้อ
ในถาดหนึ่งเป็นเนื้อไก่ป่าย่าง ถุงน้ำดีของเลียงผา 3 ถุง โดยสัณนิษฐานจากหนัง 2 ผืนที่ผึ่งไว้ขาย ซึ่งยังมีขนอยู่ เพื่อนๆสนใจน้ำมันเลียงผามากกว่าสิ่งอื่นๆ มีการกระจายรายได้ตามสมควร แต่สำหรับผมแล้ว ได้แต่ถ่ายรูปทุกแง่มุมเพื่อหวังว่าจะช่วยให้ผู้คนได้รู้ในสิ่งที่ควรรู้และเข้าใจในสิ่งที่ต้องเข้าใจ เขาฆ่าเพื่อชีวิตที่ต้องคงอยู่
ร้านหนึ่งมีกรงนกเขา และสมุนไพรชนิดหนึ่งตากแห้ง ได้ความว่านกพิราบที่ลาวเขากินกันเหมือนนกชนิดอื่นๆ ไก่ป่า ก็กินกัน เหมือนกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ เพราะว่าที่นี่ยังคงวิถีชีวิตพื้นบ้านป่าเมืองดอยอย่างแท้จริง เขาก็คือมนุษย์ที่ต้องการคาร์โบไฮเดรทและโปรตีนเพื่อการดำรงชีพให้เจริญเติบโตต่อไป ส่วนพืชผักผลไม้นั้น สังเกตดูแล้วน่าจะได้จากป่าและปลูกไว้ในบ้าน ริมรั้ว และปลายนา
หลุดจากตลาดริมทางกลางป่าแห่งนั้นมาแล้ว รถยนต์ห้อตะบึงไปด้วยความเร็วระดับ 50-60 กม./ชม. ถนนหนทางยังคดโค้งไปตามสภาพภูมิประเทศ แต่ถ้าไม่หลับแล้วจับจ้องมองดูไปเรื่อยๆจะพบว่ามีความงดงามของวิวทิวทัศน์สองข้างทาง หลายช่วงที่อยากให้รถจอด หรือเสีย จะได้ลงไปถ่ายภาพสวยๆมาฝาก ในเมื่อรถยนต์ไม่เป็นใจก็เลยได้ภาพตามที่เห็นในหลวงพระบางตอน 2. บนเส้นทางทรหดมีความงดงาม
ตะวันคล้อยลงลับเหลี่ยมเขาไปนานกว่า 30 นาที ความมืดเบื้องหน้าถูกไฟหน้ารถส่องสว่างเป็นทางแถว รอบๆรถมืดมิดไปด้วยราตรีกาล ไม่มีแสงไฟจากบ้านเรือน ไม่มีไฟฟ้าจากถนนหนทาง อยู่ ณ ที่แห่งหนตำบลใดไม่รู้ทั้งสิ้น ดูแล้วน่ากลัวเหมือนกัน ถ้าเกิดรถเสียกลางทาง แต่แล้วไกด์ไก่คำผู้น่ารักก็พูดผ่านไมค์ ตลาดริมทางข้างหน้านี้ เป็นตลาดปลา เพราะว่าที่นี่มีเขื่อนใหญ่มาก ทำให้ชาวบ้านย่านนี้ประกอบอาชีพประมง หรือการหาปลานั่นเอง
เห็นปลาย่างแล้วอยากกินต้มโคล้งปลากรอบ เน๊าะ
ตลาดริมทางข้างหน้าจะขายสินค้าจากปลาเป็นหลัก สัตว์ป่าไม่มีอีกแล้ว แล้วก็ได้รับการขอร้องให้หยุดรถยนต์เพื่อลงไปชมและซื้อของฝากติดไม้ติดมือกันสักหน่อย ผู้ที่ลงไปตลาดริมทางแห่งนี้ก็มีผม ไก่คำ ไก่จากกทม. เจ๊เพลิน ผอ.ไกรลาศ และประธานกกต.ช่วงชัย คนที่ซื้อก็ได้แก่ ผอ.ไกรลาศซื้อปลาวิวแก้วไปถุงใหญ่ อ้างลอยๆว่าลูกสาวชอบกิน เจ๊เพลินและคนอื่นๆก็ได้แต่ชมส่วนผมก็ได้แต่ถ่ายรูป ถ่ายจริงๆจังๆ หวังจะได้ภาพเก็บไปเล่าสู่กันอ่าน
พ้นจากตลาดนี้ก็ได้แต่นั่งรถยนต์ฝ่าไปในความมืดมิด ราตรีกาลที่แสนหวาดเสียว พอถึงวังเวียงที่เต็มไปด้วยแสงสีก็ได้เฮ ภาพที่เห็นจากเรื่องนี้มีปลามากมายหลายชนิด ล้วนแต่ใช้กรรมวิธีดั้งเดิมถนอมอาหาร เช่นปลาย่าง ปลาเจ่า แหนมปลา ปลาร้า ปลาส้ม ปลาป่น ปลาเค็ม ทึ่งมากๆก็ ผอ.ไกรลาศ ที่หาญซื้อปลาวิวแก้วไปฝากลูก แต่แล้วก็หัวใจสลายเมื่อถึงเวลากินอาหารค่ำ ทุกคนเรียกหาปลาซิวแก้ว หมดเกลี้ยงเหลือแต่ถุงเปล่าเอาไปฝาก(ลงถังขยะ) ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ !!!
"เจอเสือหิวเข้า เกลี้ยงเลย" ผอ.ไกรลาศพูดแล้วก็ได้แต่หัวเราะ อิอิ
ปลาซิวแก้วจากเขื่อนที่วางขาย
วิถีชีวิตของชาวลาวก็ชอบตีไก่ชนเหมือนคนไทย
ร้านค้าปลาต่างๆจุดที่สอง
ร้านค้าริมทางจุดแรกกลางหุบเขา