http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 25/01/2025
สถิติผู้เข้าชม14,653,163
Page Views17,011,636
« April 2025»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930   
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

ปราสาทหินพิมาย:อุทยานประวัติศาสตร์แปลก หันหน้าไปทางทิศใต้ ทำไม? โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง//ภาพ-ดต.เดชา เปาอินทร์

ปราสาทหินพิมาย:อุทยานประวัติศาสตร์แปลก หันหน้าไปทางทิศใต้ ทำไม? โดยธงชัย เปาอินทร์ เรื่อง//ภาพ-ดต.เดชา เปาอินทร์

ปราสาทหินพิมาย:อุทยานประวัติศาสตร์แปลก หันหน้าไปทางทิศใต้ ทำไม?

โดยธงชัย เปาอินทร์-เรื่อง//ภาพ-ดต.เดชา เปาอินทร์

                เรื่องเล็กๆแค่ว่า ทำไมปราสาทินพิมายจึงหันหน้าไปทางทิศใต้ ในเมื่อปราสาทหินในประเทศไทยหลายๆแห่งล้วนหันหน้าปราสาทไปทางทิศตะวันออก ก็ทำให้งงงวยได้เหมือนกัน แต่เมื่อเข้าไปค้นคว้าเพียงเล็กน้อย ก็พบคำตอบที่ไม่ได้ยอกย้อนซ่อนปมอะไรนัก แต่ความหมายที่แท้จริงมันอยู่ที่ว่า ในช่วงเวลานั้นศูนย์กลางจักรวาลอยู่ทางทิศใต้ มันคืออะไรกันหรือ?

ปราสาทหินพิมาย หรือวิมาย หรือวิมายปุระ

               ช่วงปีพ.ศ.1545-1593 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงปกครองอาณาจักรขอมโดยมีกรุงยโสธรปุระเป็นราชธานี เขตปกครองเมืองเสียมเรียบในปัจจุบันนี้ ซึ่งตามลักษณะภูมิประเทศแล้วตั้งอยู่ทางทิศใต้ของปราสาทหินพิมาย ดังนั้นปราสาทหินพิมายจึงต้องหันหน้าปราสาทไปทางทิศใต้ อันเป็นศูนย์กลางการปกครองในยุ8สมัยนั้นนั่นเอง และด้วยว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 เป็นผู้เริ่มการก่อสร้างปราสาทหินพิมาย ไม่แปลกแล้วใช่ไหมครับ 

              ต่อมาได้มีการพบจารึกด้วยภาษาขอมบนแผ่นหินกรอบประตู(โคปุระ)ของระเบียงคดด้านหน้าของปราสาทหินพิมาย  ระบุว่า ผู้สร้างปราสาทนี่คือพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 พุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อเป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ ด้วยศิลปะแบบบาปวน พร้อมกับมีคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ปรากฎอยู่ด้วย จึงแผลงแปลงมาเป็น พิมาย ดังปัจจุบันนี้ (ปีพ.ศ.1651-1655)

              แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงครองราชย์ระหว่างปีพ.ศ.1724-1761 ได้ทรงดัดแปลงปราสาทหินพิมายให้เป็นพุทธสถานตามความเชื่อและความศรัทธาของพระองค์ นอกจากนั้นพระองค์ยังได้สร้างอโรคยาศาลตามรายทางเพื่อให้เป็นทั้งที่พักระหว่างการเดินทางและเป็นสถานพยาบาลหากเจ็บป่วย เหมือนว่าจะมียาประจำไว้ให้ด้วย อะไรทำนองนี้

 

              ปีพ.ศ.1791 พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด(หล่มสัก) ได้ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว ขับไล่ขอมสบาญลำพงออกไปจากแผ่นดินสุโขทัยในอดีต จนกระเจิดกระเจิงไปสิ้น ในที่สุด พ่อขุนผาเมืองได้ยกเมืองสุโขทัยเป็นราชธานีแล้วมอบให้พ่อขุนบางกลางหาว ซึ่งเป็นน้องชายของเมียคนหนึ่งของพ่อขุนผาเมืองได้ขึ้นปกครองสืบราชสันตติวงศ์ต่อมา แม้ต่อมากรุงสุโขทัยจะเสื่อมสลายลงไปแล้วมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแทน ก็ไม่ปรากฎการกล่าวถึงเมืองพิมายอีกเลย เหมือนว่าพิมายเป็นแว่นแคว้นแดนไทยอย่างสิ้นเชิง

             ปีพ.ศ. 2479  กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ  ปีพ.ศ.2519-2532 ประเทศไทยร่วมกับประเทศฝรั่งเศสศึกษาและบูรณะปราสาทหินพิมายจนแล้วเสร็จ  วันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2532 ประกาศเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย พื้นที่รวม 115 ไร่ กว้างยาว 565x1,030 เมตร โดยมีปราสาทหินพิมายตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำมูล

             โดยรวมอุทยานประวัติศาสตร์พิมายประกอบด้วย ปราสาทประธาน ซึ่งสร้างด้วยหินทรายสีขาวมีส่วนสำคัญสองส่วนคือ มณฑปและเรือนธาตุ ตามหน้าบันจำหลักด้วยภาพรามเกียรติ์และพุทธศาสนา เว้นแต่ด้านทิศใต้จำหลักหินเป็นภาพศิวราฏราช ในเรือนธาตุมีห้องครรภคฤหะอันเป็นห้องที่ประดิษฐานรูปเคารพสำคัญ ข้างๆมีท่อโสมสูตรเพื่อนำน้ำจากพิธีกรรมให้ไหลไปสู่ภายนอก

              นอกจากนั้นยังประกอบไปด้วย พลับพลาเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้ากำแพงชั้นนอก ด้านซ้ายมือของทางเดินเข้าสู่ตัวปราสาท ตำแหน่งที่ตั้งทำให้สันนิษฐานว่าคงเป็นที่พักเตรียมพระองค์สำหรับกษัตริย์ หรือเจ้านายชั้นสูงที่เสด็จมาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรืออาจจะเป็นสถานที่พักจัดขบวนสิ่งของถวายต่างๆ ปี พ.ศ. 2511 ขณะขุดแต่งได้พบโบราณวัตถุมีทั้งรูปเคารพ เครื่องประดับ และเหรียญสำริด จึงได้เรียกว่าเป็น"คลังเงิน"

      

              สะพานนาคราช อยู่ทางโคปุระด้านทิศใต้สร้างด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาท กว้าง 4 ม. ยาว 31.70 ม. ยกพื้นสูง ราวสะพานทำเป็นตัวนาคส่วนหัวแผ่แม่เบี้ยวเป็น 7 เศียร สะพานนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเดินทางเข้าสู่ศาสนสถานอันศักดิ์สิทธิ์ตามคติความเชื่อเรื่องจักรวาล โดยความเชื่อที่ว่าเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ คตินี้ถือสืบกันมาในศาสนาฮินดูและพุทธศาสนานิกายมหายาน

   

สะพานนาคราช

              ซุ้มประตูหรือโคปุระตั้งอยู่กึ่งกลางของแนวกำแพงแก้ว ตรงกันทั้ง 4 ด้าน ภายในกำแพงแก้วถือกันว่าเป็นแดนสวรรค์

   

                  ปรางค์หินแดง  สร้างขึ้นราวปลายพุทธศรรตวรรษที่ 17 ตั้งอยู่ทางด้านขวาของปรางค์ประธาน มีมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือ มีทับหลังหินทรายจำหลักภาพเล่าเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ ตอน กรรณะล่าหมูป่า ส่วนกรอบประตูด้านอื่นคงเหลือร่องรอยเฉพาะเสาประดับกรอบประตูศิลปะแบบเขมรประดับอยู่

               หอพราหมณ์  ก่อสร้างด้วยหินทรายและศิลาแลง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันกับปรางค์หินแดง ขณะบูรณะได้พบศิวลึงค์สลักด้วยหินทราย 7 องค์ จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์  ปรางค์พรหมทัต  สร้างด้วยศิลาแลงตั้งอยู่ด้านหน้าของปราสาทประธานทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประตูทำเป็นมุขยื่นออกไปทั้ง 4 ทิศ ภายในองค์ปรางค์พบประติมากรรมหินทรายสำคัญ 2 ชิ้น คือ

   

              ประติมากรรมรูปบุคคลในท่านั่งขัดสมาธิ ดูเหมือนว่าจะเป็นรูปจำลองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกว่า ท้าวพรหมทัต ยังมีหินทรายจำหลักรูปสตรีนั่งคุกเข่าเชื่อกันว่าเป็นพระนางชัยราชเทวรมเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่ชาวบ้านพิมายเรียกว่านางอรพิม     

              บรรณาลัย เป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกพื้นสูงก่อด้วยหินทรายอยู่ระหว่างกำแพงแก้วและซุ้มประตูระเบียงคดด้านทิศตะวันตก มีอยู่ 2 หลัง มีร่องรอยเสาสี่เหลี่ยมและหลังคาเป็นไม้มุงกระเบื้อง เป็นส่วนวิชาการอันเป็นที่เก็บตำราต่างๆ    

 

               ซุ้มประตู พบจารึกภาษาเขมรโบราณระบุศักราชตรงกับปีพ.ศ. 1651-1655 บอกเล่าเรื่องการก่อสร้างรูปเคารพ การสร้างเมือง และพระนามชนชขั้นสูงที่เกี่ยวข้อง

               ส่วนระเบียงคด เป็นอาคารก่อด้วยหินทรายยกพื้นสูง อยู่ล้อมรอบปราสาทประธาน ระเบียงคดมีลักษณะคล้ายกำแพงแก้วทั้ง 4 ด้าน โดยมีตำแหน่งที่ตั้งตรงกับแนวของประตูเมือง และประตูทางเข้าปราสาทประธาน     

                  

              ซาลาทางเดิน  สร้างด้วยหินทราย เชื่อมต่อระหว่างซุ้มประตูด้านทิศใต้ของระเบียงคดที่ล้อมรอบปราสาทประธาน ทางเดินยกพื้นสูง 1 เมตร มี 3 ช่องทางเดิน ผังทำเป็นรูปกากบาท ระหว่างทำการบูรณะพบเศษกระเบื้องมุงหลังคาและบราลีดินเผาเยอะมาก เดิมน่าจะเป็นระเบียงโปร่งหลังคามุงกระเบื้อง รองรับด้วยเสาไม้แต่ไม้ผุสลายไปก่อน

              ร่องรอยจากประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่า เดิมทีเดียวในแผ่นดินไทยนั้นเคยมีชนชาติเชื้อเผ่าพันธุ์แตกต่างล้วนอยู่อาศัยร่วมกัน มีการสื่อสารถึงกันและกัน มีการเชื่อมสายสัมพันธุ์ทั้งทางศิลปะวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อและวิถีชีวิตที่เหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน หรือละม้ายคล้ายๆกัน หรือแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ

              เมื่อโลกเปลี่ยนไป จึงมีการจดจารและแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างกัน กลายเป็นแผ่นดินเองแผ่นดินข้า ชาติเชื้อเองชาติเชื้อข้า ทำให้ขาดความสัมพันธ์ที่เคยมีมาแต่ดั้งเดิม เปลี่ยนทัศนะคติและความเชื่อไปคนละทาง  พฤติกรรมก็เลยยิ่งเหินห่าง ทั้งที่รากของภาษาก็มาจากรากเดียวกัน ตรวจดีเอนเออาจพบว่าเหมือนกันหรือมีตัวร่วมเดียวกัน 

              วันนี้ ขอม ขะแมร์ แปรเปลี่ยนเป็นเขมร เป็นกัมพูชา เป็น Cambodia ส่วนชาวอโยธยาก็เป็นชาวสยาม แล้วก็เป็นคนไทย เป็นประเทศไทย เป็นThailand ลืมชาวสยามไปแล้วหรือไร เตียบันอยู่ไหน ไม่อยากกลับบ้านแล้วหรือไง ในระหว่างสองประเทศจึงมีทั้งเชื้อชาติสยามและกัมพูชาเหมือนๆกัน หน้าตาผิวพรรณสีผมสีตาไม่พูดออกมาก็แทบจะเรียกว่าเป็นคนเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เดียวกัน เช่นเดียวกับสิบสองปันนา ไตลื้อ ล้านช้าง ลาว และไท  

 

                       จากกรุงเทพมุ่งไปตามใกล้ถึงสระบุรี แยกขวาไปทางจังหวัดนครราชสีมาถนนมิตรภาพ (2) เลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกทางเลี่ยงเมืองก่อนเข้าตัวเมืองนครราชสีมา ไปบรรจบกับถนนมิตรภาพ(2)อีกครั้งมุ่งสู่จังหวัดขอนแก่น  เลี้ยวขวาเข้าไปอำเภอพิมายตามถนนสาย 206  จนไปถึงปราสาทหินพิมายที่ตั้งอยู่ทางขวามือ ระยะทางจากนครราชสีมาประมาณ 60 กม. ถ้าไม่เคยไปเที่ยวเลยก็ควรจะไป จะได้เห็นความยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติในอดีตกาล

                   รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม แล้วยังได้ไปกินอาหารพื้นบ้านอีสานของเรา แซบหลายเด้อค่ะ

Tags : ท่องเที่ยวทั่วไทย ปราสาทหินพิมาย

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view