http://www.thongthailand.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  เว็บบอร์ด  บทความ  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  ข่าวสาร
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 15/03/2009
ปรับปรุง 25/01/2025
สถิติผู้เข้าชม14,668,822
Page Views17,029,772
« April 2025»
SMTWTFS
  12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930   
ท่องเที่ยวทั่วไทยไปทั่วโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และความเชื่อ
รีวิว ร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ทและสปา
  foo&bed
ธรรมชาติ,สัตว์ป่าและพันธุ์พืช...มีคุณ(nature)
บทบรรณาธิการ สกู๊ฟพิเศษ และเรื่องเล่า
ข่าวสาร
http://www.thongthailand.com/index.php?mo=3&art=42365202
 

กทม.ผิดพลาดอย่างไรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ต้นไม้ใหญ่ในเมือง

กทม.ผิดพลาดอย่างไรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ต้นไม้ใหญ่ในเมือง


Dely154.doc/             กทม.ผิดพลาดอย่างไรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ต้นไม้ใหญ่ในเมือง


           
ต้นไม้ในแนวถนนของกรุงเทพมหานครวันนี้ มีหลากหลายชนิดตั้งแต่พุ่มเตี้ยจนถึงต้นไม้ใหญ่ในเมือง รื้อแล้วปลูกๆแล้วรื้อสลับกันไปอย่างยุ่งเหยิง เหตุการณ์เกิดมาบ่อยครั้ง และทุกครั้งคือการสูญเสียเงินงบประมาณแผ่นดินและต้นไม้ถูกเปลี่ยนแปลงไป วันนี้ กทม.ปลูกต้นปาล์มน้ำมันกลางเกาะแบ่งถนนที่มีขนาดกว้าง 3-4 เมตร เช่นที่ถนนงามวงศ์วาน ฯ ดูขัดตาอย่างไร

            วัตถุประสงค์ของกรุงเทพมหานครในการปลูกต้นไม้ตามริมถนน สวนหย่อม เกาะกลางถนน ในความคิดทั่วไปเข้าใจว่า เพื่อความสวยงาม เพื่ออาศัยร่มเงา และเพื่อช่วยฟอกอากาศเสีย ต้นไม้ที่เลือกมาปลูกแต่ดั้งเดิมคือต้นไม้ไทยๆหลายชนิดเช่น ตะแบกดอกสีชมพู  เสลาดอกสีม่วง อินทนิลบกดอกสีม่วงดอกโตใบใหญ่ อินทนิลน้ำดอกสีชมพูจนถึงสีม่วง ศรีตรังดอกสีม่วง นนทรีดอกสีเหลือง ราชพฤกษ์หรือคูณ มะขาม ฯลฯ

            ในหลายชนิดเป็นต้นไม้ต่างประเทศเช่น มะฮอกกานี้ริมคลองหลอด ถนนวิทยุเดิม ประดู่กิ่งอ่อนดอกสีเปลือง ชมพูพันธุ์ทิพย์ดอกสีชมพู อโศกอินเดียต้นเรียวชลูด ฯลฯ นอกจากนั้นก็ไม้พุ่มเตี้ยสารพัดชนิด ทั้งไม้ไทยและไม้ต่างประเทศ แต่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นล้วนมีประโยชน์ทุกประการ ทำหน้าที่ในสวยงามก็ได้ ให้ร่มเงาก็ได้ ฟอกอากาศพิษก็ได้ โโยเฉพาะไม่ว่าต้นไม้ใดๆที่เติบโตเร็วก็ยิ่งช่วยลดอากาศเสียตัวร้าย(คาร์บอนไดอ็อกไซด์)ได้มากเท่านั้น

                                               

                  
           
เช่นที่ถนนราชดำเนินกลางปลูกต้นไม้ไหล่ถนนด้วยประดู่กิ่งอ่อน มีสายไฟฟ้าระอยู่ตามพุ่มใบ กทม.ตัดแต่งทุกระยะที่กิ่งประดูไปเกี่ยวรัดสายไฟ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ร่มเงาของต้นประดู่เขียวตลอดปี กิ่งก้านมาก ทำให้ถนนรนแคมร่มเย็นและสวยงาม โดยเฉพาะเมื่อยามที่ออกดอกเหลืองเต็มต้น มีกลิ่นหอมอ่อนๆโชยมาเข้าจมูก และทันทีที่ร่วงหล่นก็พรูกันลงมาดังกับนัดกันไว้ แต่ไม่ใช่การนัดเพราะว่านั่นคือธรรมชาติของต้นประดู่ ทั้งประดู่ป่าประดู่บ้าน สัญญลักษณ์นี้นี่แหละที่ทหารเรือนำไปเป็นสัญญลักษณ์ของเขา ตายก็ตายหมู่เช่นดอกประดู่ร่วงพรู

            หน้าที่ของต้นประดู่กิ่งอ่อนเหล่านั้นคือการฟอกอากาศพิษคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) แล้วแปลงเป็นกิ่งก้านที่แตกออกมามากมาย กิ่งก้านเหล่านั้นคือรูปแปลงของคาร์บอนไดอ็อกไซด์หรือเซลลูโลสนั่นเอง ในปริมาณเฉลี่ยของน้ำหนักต้นไม้ทั้งต้น(ใบ กิ่งก้าน เปลือก เนื้อไม้ ตั้งแต่ยอดจนถึงราก) 50%เป็นสัดส่วนของการสะสมคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในรูปต่างๆ หากไม่นำไปเผาไฟก็จะผุสลายเป็นอินทรีย์วัตถุ แต่ถ้า กทม.นำไปเผาไฟทิ้งก็เท่ากับปลดปล่อยคาร์บอนไดอ็อกไซด์สู่บรรยากาศอีก

            ดังนั้น กทม.ต้องนำเศษกิ่งก้าน ใบ ดอก ผล เปลือกของต้นประดู่ที่ตัดแต่งไปย่อยสลายด้วยเครื่องบดสับกิ่งไม้สด แล้วนำกลับมาคลุมโคนต้นป้องกันวัชพืชหรือปล่อยให้ผุสลายไปเป็นปุ๋ยอีกครั้ง การจัดการตรงนี้ก็ไม่ทราบว่า กทม.ได้ดำเนินการละเอียดดังกล่าวหรือไม่ หรือเผาทิ้งไปเสียเฉยๆ

            ยิ่งมีการแตกกิ่งก้านของต้นไม้ริมถนนมากเท่าไรก็ยิ่งช่วยสะสมคาร์บอนได้อ็อกไซด์ได้มากเท่านั้น ยิ่งตัดแต่งมากเพื่อให้พุ่มเล็กสวยงามก็ยิ่งช่วยให้โอกาสในการแตกกิ่งก้านมากขึ้น ก็สะสมคาร์บอนมากขึ้น ลดภาวะเรือนกระจกได้มากขึ้น ซึ่งในระหว่างปฏิกิริยาการสังเคราะห์แสงของต้นไม้ที่มีการดูดคาร์บอนฯและคายอ็อกซิเจนออกมาให้กับสัตว์และมนุษย์ได้บริโภคอากาศดีๆ

            ในฐานะนักวิชาการป่าไม้ขอเน้นย้ำว่า ยิ่งปลูกต้นไม้ตั้งแต่เล็กจนปล่อยให้เติบใหญ่ คือการสะสมคาร์บอนไดอ็อกไซด์มากขึ้น ทั้งทางความสูง ความโตของลำต้น และการแตกกิ่งก้านและใบของต้นไม้ ส่วนต้นไม้ใหญ่ๆที่เจริญเติบโตทางความสูงไม่ได้อีกแล้ว ขยายทางกว้างก็ไม่ได้เพราะเนื้อที่จำกัด ดินมีให้รากเดินน้อย ช่องแสงก็น้อย ย่อมขยายการสะสมคาร์บอนไดอ็อกไซด์ได้ต่ำกว่าต้นไม้เล็กๆที่ปลูกใหม่ การปลูกต้นไม้ตั้งแต่เล็กๆในเมืองจึงมีประโยชน์กว่าปลูกต้นไม้ใหญ่คราวเดียว

              พอข่าว กทม.จะปลูกต้นไม้ใหญ่ในเมืองเกิดขึ้นและใช้เป็นเครื่องมือในการหาเสียงเลือกตั้งคราวที่แล้ว ก็ยิ่งกังวลว่าจะเกิดความเข้าใจผิดพลาดกันต่อไป หากปลูกต้นไม้ใหญ่ในเมืองกันหมด หน้าที่ของต้นไม้ต้นนั้นก็จะเหลือเพียงการดูดคาร์บอนฯเข้าแล้วคายอ็อกซิเจนออกมาเท่านั้น ส่วนกิ่งก้าน ใบ ดอก เนื้อไม้น่าจะไม่เกิดอัตราการเจริญนัก การสะสมคาร์บอนก็ผิดรูปไปอีก เรียกว่าต้นไม้ใหญ่ช่วยลดภาวะเรือนกระจกได้ต่ำกว่าต้นไม้เล็กมากมาย ทำหน้าที่แค่ร่มเงาและฟอกอากาศ

            แต่ยิ่งเดินทางผ่านถนนงามวงศ์วาน มีเกาะกลางถนนกว้าง 3-4 เมตรยิ่งใจหาย ไปอ่านหนังสือรายสัปดาห์วิจารณ์เล่มหนึ่งวิจารณเรื่องค่าใช้จ่ายต่อต้นด้วยแล้วยิ่งเสียดายไปใหญ่ ทั้งแพงและมีประโยชน์น้อยไปจริงๆ เหตุประกอบมีดังนี้ครับ

            ต้นปาล์มน้ำมันชอบที่ชื้นเย็นในภาคใต้ ต้องการพื้นที่การแผ่กระจายเรือนยอดกว้างๆ ใบคล้ายทางมะพร้าวมีใบย่อยมากมาย เนื้อที่ใบจะมากน้อยขึ้นอยู่กับโอกาสในการแผ่กระจายของเรือนยอด นำมาปลูกยัง กทม.ด้วยการยกมาทั้งต้นใหญ่ๆ ตัดใบออกเกือบหมด มองดูก็น่าจะสวยงามดี แต่ไม่มีทางเป็นไปได้ในถนนงามวงศ์วาน เพราะว่าเนื้อที่เกาะกลางถนนแคบนิดเดียว

            เมื่อต้นปาล์มแตกใบใหม่ กิ่งก้านใบจะแผ่กว้างได้ยากเพราะว่ารถราที่วิ่งอยู่ตลอดเวลาพ่นไอพิษความร้อนและกระแสลมโบกสะบัดซัดกิ่งก้านใบจนแตกละเอียด แต่ถ้าปลูกในสวนสาธารณะอาจดูทรงพุ่มสวยงามได้ แต่ที่เกาะกลางถนนมีเนื้อที่ดินมีที่ให้รากชอนไชได้น้อย ดินมีความร้อนและขาดปุ๋ยมากมาย ยังไงเสียต้นปาล์มเหล่านี้ก็ไม่ทำให้เกิดประโยชน์เหล่านี้อย่างแน่นอน

            เป็นไม้ประดับกลางถนนไม่ได้ ดูดซับคาร์บอนไดอ็อกไซด์ก็ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ลดภาวะเรือนกระจกได้ต่ำที่สุด ใช้อาศัยร่มเงาก็ไม่ได้ ดูเพื่อความสวยงามก็ไม่งามเท่าที่ควร ใครผ่านถนนจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปหน้าโรงพยาบาลพระมงกุฏ จะเห็นปาล์มน้ำมันที่ปลูกไว้     งิกงอใบแตกละเอียด ไม่สง่างามดังหวังแต่อย่างใดๆเลย ก็เพราะว่าเหตุดังที่กล่าวมาแต่ต้น 
            กทม
.ผิดพลาดอย่างร้ายแรงที่ใช้ของแพงแต่ได้คุณประโยชน์ต่ำสุดๆ ถึงวันนี้ เลิกคิดปลูกต้นไม้ใหญ่ในเมืองกันเถอะ ตรงไหนเป็นคูคลองก็ปลูกแสม เสม็ด ลำพู โกงกาง ตีนเป็ดทะเล ฯลฯ หันมาปลูกต้นเล็กๆปริมาณมากๆและให้ค่อยๆเติบโต ยิ่งตัดแต่งกิ่งแล้วป่นเป็นปุ๋ย(ใส่ไว้โคนต้นเดิม)จะได้ประโยชน์มากมายกว่าครับ โดยเฉพาะสวนสาธารณะสี่มุมเมืองขนาดใหญ่ๆ    
 

                        ปล. เรื่องมันเกิดจาก ผู้อำนวยการเขตคนหนึ่งท่านเป็นคนภาคใต้จะเกษียนราชการ แล้วมีสวนปาล์มแก่ๆ ลูกไม่ดกแล้ว อยากจะรื้อออกปลูกใหม่ เกิดไอเดียกระฉูด ขายให้ กทม.ซะเลย รวยไปอื้อ เรื่องนี้ผิดเชิงนโยบายหรือไม่ครับ  ตั้งแต่นั้นมา ก็มีแมงเม่าบินเข้ากองไฟกันตรึมเลย คนโง่ย่อมตกเป็นเหยื่อของคนฉลาดฉันใด คนจรรลัยย่อมไร้ความสำนึกฉันท์นั้น  พ่างๆๆ        

Tags : Climate change

 
 หน้าแรก  บทความ  ข่าวสาร  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา  เว็บบอร์ด

อัตราค่าโฆษณา    

แบบเนอร์ กลางหน้า.  ขนาด 800 x 400-600 พิกเซล เห็นหน้าแรก  5,000 บาท/เดือน

แบนเนอร์ เหนือโลโก้เว็บไซต์ ขนาด 1000 x 80 พิกเซล เห็นทุกหน้า 4,000 บาท/เดือน

 แบนเนอร์ ซ้าย  ขนาด 240 x 120-160 พิกเซล เห็นทุกหน้า 3,000 บาท/เดือน

ทำข่าวแถลง รีวิวโรงแรมและร้านอาหาร  เขียนสารคดี เชิญได้โดยตรงที่ โทร.081-9416364

ติดต่อ 135 ม.12 ต.กำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม 73140

 
view